ประวัติผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระ นาม เดิม ว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เมื่อทรงพระเยาว์ ได้ทรงศึกษาในพระบรมมหาราชวัง ครั้นพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษา เสด็จไปศึกษาวิชาการต่อณ ประเทศอังกฤษ ทั้งวิชาการทหารและพลเรือน ทรงศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิสต์ และทรงศึกษาวิชาพลเรือนที่มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด พระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ ขณะที่พระชนมายุได้ ๓๐ พรรษา

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์ ได้แก่ 


              ๑. ทรงออกพระราชบัญญัติต่างๆ เช่น ทรงออกพระราชบัญญัตินามสกุล เพื่อให้คนไทยมี นามสกุลใช้เช่นเดียวกับประเทศที่เจริญแล้ว ทรงออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา
              ๒. ทรงให้กำเนิดกิจการต่างๆ ได้แก่ - ทรงตั้งกองเสือป่า - ทรงจัดตั้งคลังออมสิน นอกจากนี้พระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อีกมากมายทั้งในด้านการศึกษา การแพทย์ การปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทรงนำประเทศเข้า ร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ซึ่งเป็นผลทำให้ประเทศได้ประโยชน์ต่างๆ เช่น การยกเลิกสิทธินอกอาณาเขต และจากการไปสงครามครั้งนี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติไทยใหม่ จากช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์

             พระองค์ทรงเชี่ยวชาญและสนพระราชหฤทัยในด้านภาษาและวรรณคดีอย่างยิ่งได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องต่างๆ  ไว้กว่า  ๒๐๐  เรื่อง  บทพระราชนิพนธ์ของพระองค์ล้วน เป็นที่ประทับใจของผู้อ่านมาตลอด ได้แก่                 ๑. เรื่องเกี่ยวกับนิทาน   เช่น   ความดื้อของคนเรา                 ๒. เรื่องเกี่ยวกับศาสนา   เช่น  เทศนาเสือป่า    พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร                 ๓. เรื่องเกี่ยวกับโบราณคดี  เช่น  เที่ยวเมืองพระร่วง    เที่ยวเมืองอียิปต์                 ๔. บทละครพูด  เช่น   เห็นแก่ลูก   เสียสละ   มัทนะพาธา                 ๕.  เรื่องที่เกี่ยวกับการเมืองและปลุกใจให้รักชาติ   เช่น   ลัทธิเอาอย่าง เมืองไทยจงตื่นเถิด
             โดยใช้พระนามแฝงว่า อัศวพาหุ นายแก้วนายขวัญ น้อยลา สุครีพ พระขรรค์เพชร ศรีอยุธยา รวมจิตติ และพันแหลม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว    เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่  ๒๕ พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๔๖๘  ขณะพระชนมายุได้ ๔๕ พรรษา   ประชาชนชาวไทย ได้ถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ว่า   สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า 

ที่มา  https://sites.google.com/site/mathnaphatha51/home/prawati-phu-taeng

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น