บทนำเรื่อง
คำว่า
ลิลิตตะเลงพ่าย มาจากคำว่า ลิลิต + ตะเลง + พ่าย
"ลิลิต"
คือ คำประพันธ์ประเภทโคลงกับร่าย
"ตะเลง"
แปลว่า มอญ ในที่นี้หมายถึง พม่า
"พ่าย" หมายถึง แพ้ ฉะนั้น ตะเลงพ่ายจึงหมายถึง
พม่าแพ้
ลิลิตตะเลงพ่ายจัดเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติและวรรณคดีประวัติศาสตร์
ซึ่งผู้แต่งสามารถ
ทำให้เนื้อหาทางประวัติศาสตร์กลับมามีชีวิตชีวา
วรรณคดีเรื่องนี้จึงมีคุณค่ายิ่งควรแก่การศึกษา
ที่มาของเรื่อง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงพระนิพนธ์เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายในขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส
โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์รอ พระองค์เจ้ากปิตถาขัตติยกุมาร กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์พระนัดดาของพระองค์ทรงช่วยนิพนธ์เล็กน้อย
จุดประสงค์ในการนิพนธ์เรื่อง
ลิลิตตะเลงพ่าย คือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชา
ดังคำประพันธ์ว่า
เฉลิมพระเกียรติผ่านเผ้า เจ้าจักรพรรดิแผ่นสยาม
ลิลิตตะเลงพ่ายมีรูปแบบคำประพันธ์เป็นลิลิต
ประกอบด้วย โคลงกับร่าย คือ ร่ายสุภาพ
กับโคลงสุภาพ
ซึ่งมีทั้งโคลงสองสุภพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ รวมจำนวน ๔๓๙ บท
สงครามยุทธหัตถีเป็นการรบบนหลังช้างของพระมหากษัตริย์ชาตินักรบ
เพราะต้องต่อสู้กันตัวต่อตัวและนับเป็นวีรกรรมของพระมหากษัตริย์ ถือว่าเป็นพระเกียรติยศแห่งราชา
การกระทำยุทธหัตถี
ครั้งนี้ ระหว่างสมเด็จพระนเรศรมหาราชกับพระมหาอุปราชาเป็นการกระทำยุทธหัตถีครั้งสุดท้าย
หลังจากนั้นไม่มีการรบบนหลังช้างอีกเลย
ดังคำประพันธ์ว่า
หัสดีรณเรศอ้าง อวสาน นี้นา
นับอนาคตกาล ห่อนพ้อง
ขัตติยายุทธ์บรรหาร คชคู่ กันเฮ
คงแต่เผื่อพี่น้อง ตราบฟ้าดินกษัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น