ลักษณะคำประพันธ์ของลิลิตตะเลงพ่าย

ลักษณะคำประพันธ์ของลิลิตตะเลงพ่าย
ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีแนวประวัติศาสตร์และเป็นวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นวรรณคดีที่มุ่งสดุดีวีรกรรมด้านการรบของวีรบุรุษของชาติ คือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
แต่งเป็นลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพ อันได้แก่ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ สลับกันตามความเหมาะสมของเนื้อหา จำนวน ๔๓๙ บทโดนเริ่มต้นด้วยร่ายสุภาพซึ่งเป็นบทยอพระเกียรติและสดุดีความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง โดยแต่งให้คำสุดท้ายของบทประพันธ์บทต้น ส่งสัมผัสมายังคำที่ ๑ หรือคำที่ ๒ หรือคำที่ ๓ ของบทต่อไป เชื่อมกันอย่างนี้ตลอดทั้งเรื่อง เรียกว่า เข้าลิลิต
โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่าย ที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์

ลักษณะคำประพันธ์ของลิลิตตะเลงพ่าย
๑. ลักษณะบังคับร่ายสุภาพ 
    ร่ายสุภาพบทหนึ่งมีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป และตอนท้ายต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ ร่ายสุภาพแต่ละวรรคกำหนดให้มี ๕ คำ     สำหรับสัมผัสบังคับของร่ายสุภาพ กำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือที่ ๒ หรือที่ ๓ เพียงดำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป การส่งสัมผัสเป็นไปเช่นนี้จนกระทั่งจบด้วยโคลงสองสุภาพ ส่วนสัมผัสในซึ่งเป็นสัมผัสที่ไม่บังคับในร่ายสุภาพใช้ไดทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระ แต่นิยมสัมผัสพยัญชนะมากกว่า จะได้แผนภูมิดังนี้




๒.ลักษณะบังคับของโคลงสองสุภาพ

โคลงสองสุภาพบทหนึ่งมี ๓ วรรค ๆ หนึ่งมี ๕ คำ ยกเว้นวรรคสุดท้ายมีเพียง ๔ คำ ในตอนท้ายมีคำสร้อยได้ ๒ คำ  สัมผัสของโคลงสองสุภาพมีเพียงแห่งเดียว คือคำสุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒     จะได้แผนภูมิดังนี้ 

๓.ลักษณะบังคับโคลงสามสุภาพ
โคลงสามสุภาพบทหนึ่งมี ๔ วรรค ๆ ละ ๕ คำ ยกเว้นวรรคสุดท้ายซึ่งมี ๔ คำ และมีคำสร้อยตอนท้ายอีก ๒ คำ  สัมผัสโคลงสามสุภาพกำหนดให้คำสุดท้ายของวรรคแรกส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓   จะได้แผนภูมิดังนี้  

๔.ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ
โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๔ บาท แต่ละบาทประกอบด้วย ๒ วรรค คือ วรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ ยกเว้นบาทที่ ๔ ที่มีวรรคหลัง ๔ คำ นอกจากนี้ในบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓ อาจมีสร้อยคำได้อีกบาทละ๒ คำ   โคลงสี่สุภาพบังคับคำเอก ๗ คำ คำโท ๔ คำ โดยถือรูปวรรณยุกต์เป็นเกณฑ์ และคำเอกอาจใช้คำตายแทนได้ สัมผัสโคลงสี่สุภาพได้แก่ คำสุดท้ายของบาทที่ ๑(ไม่นับคำสร้อย) ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และบาทที่ ๓ คำสุดท้ายของบาทที่ ๒ ส่งสัมผัสไปยังคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔ ส่วนสัมผัสในของโคลงสี่สุภาพนิยมสัมผัสอักษร   จะได้แผนภูมิดังนี้   

ขอขอบคุณที่มาของข้อมูล
https://sites.google.com/site/lilittalengphay011/laksna-kha-praphanth

พรหมพชร  เกตดี ผู้รวบรวม
วันที่ 8 ตุลาคม 2562

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น