คุณค่าของเรื่อง
๑. เป็นตัวอย่างของบทความที่ดี
๒. เสนอข้อคิดเกี่ยวกับปัญหาของบ้านเมืองในเรื่องค่านิยมที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศให้เจริญ
๓. ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ว่าอาชีพอื่นก็สามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้
๒. เสนอข้อคิดเกี่ยวกับปัญหาของบ้านเมืองในเรื่องค่านิยมที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาประเทศให้เจริญ
๓. ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ว่าอาชีพอื่นก็สามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้
คุณค่าด้านเนื้อหา
๑) รูปแบบ บทความเรื่องโคลนติดล้อ
ตอน ความนิยมเป็นเสมียนเป็นงานเขียนประเภทร้อยแก้วที่ให้ทั้งความรู้และความคิด
มีเนื้อหาสร้างสรรค์ทรงคุณค่า ซึ่งเป็นการใช้รูปแบบงานเขีนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหา
๒) องค์ประกอบของเรื่อง
๒.๑
สาระ เป็นการแสดงความคิดเรื่องค่านิยมเกี่นวกับอาชีพที่คนทั่วไปมักนิยมยกย่องข้าราชการ
และผู้ที่ทำงานในสำนักงาน จนมองข้ามความสำคัญของอาชีพอื่น
เหมือนโคลนติดล้อรถ
๒.๒
โครงเรื่อง บทความเรื่องโคลนติดล้อ
ตอน ความนิยมเป็นเสมียน เป็นร้อยแก้วแสดงความคิดเห็น ที่มีองค์ประกอบของบทความครบทั้ง
๓ ส่วน คือ
ส่วนนำ : มีการใช้ข้อความที่ต่อเนื่องจากบทที่
๓ เรื่องการบูชาหนังสือจนเกินเหตุ
ดังนั้น ผู้อ่านบทความโคลนติดล้อที่ลงพิมพ์อย่างต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์สยามออฟเซอร์เวอร์
จะเห็นการเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาที่พระองค์ทรงเปิดประเด็นมุมมองถึงความเสียหายที่จะตามมาของผู้ที่รับการศึกษาในระบบโรงเรียนมีมากขึ้น
ส่วนเนื้อเรื่อง
: มีการแบ่งออกเป็นย่อหน้าทั้งหมด ๗ ย่อหน้า แต่ละเรื่องโยงกันเป็นลำดับ
ตั้งแต่การตั้งความหวังในอนาคตเมื่อเรียนจบ โดยลืมพื้นความหลังทางวัฒนธรรมว่าสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม
แต่ละย่อหน้ามีการอธิบายและการยกตัวอย่างชัดเจน
ส่วนสรุป : ผู้เขียนได้กล่าวถึงหนทางการแก้ปัญหา
และใช้กลวิธีในการปิดเรื่องโดยใช้คำถามในบรรทัดสุดท้ายว่า “เพราะฉะนั้นท่านจะไม่ช่วยกันบ้างหรือ”
กลวิธีในการแต่ง
บทความเรื่องโคลนติดล้อ ตอน
ความนิยมเป็นเสมีียน ผู้ประพันธ์มีกลวิธีการเขียนที่ชวนอ่าน
น่าติดตาม มีการลำดับเนื้อหาเป็นขั้นตอน
อ่านเข้าใจง่าย โดยแบ่งย่อหน้ายาวสั้นสลับกันไป
รวม ๑๑ ย่อหน้า
แต่ละย่อหน้าทีประเด็นสำคัญ มีเนื้อหาสาระน่าสนใจ
และมีการนำเสนอต่อเนื่องสัมพันธ์กันอย่างดี เริ่มต้นจากคำนำที่จูงใจให้ผู้อ่านสนใจติดตาม โดยการนำเสนอปัญหาที่เกิดจากการให้การศึกษาแก่ประชาชน
ซึ่งผู้ประพันธ์แสดงความคิดเห็นว่า "ให้ผลเป็นที่น่ารำคาญ" ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจติดตามหาคำตอบไม่ว่าปัญหานั้นคืออะไรในส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอแต่ละย่อหน้า
ผู้ประพันธ์ไดอธิบายเนื้อหา ความสำคัญ
แสดงเหตุผล ใช้ตัวอย่างประกอบได้อย่างชัดเจน
บางครั้งมีการกระตุ้นให้ผู้อ่านคิดโดยใช้คำถามให้ผู้อ่านนำไปคิดต่อ
นับเป็นวิธีการประพันธ์ที่มีคุณค่า ใช้เป็นแบบอย่างขอองบทความแสดงความคิดเห็นได้เป็นอย่างดี
๓) แนวคิดของผู้เขียน
๑)
ความหมายของคำว่าเสมียน การเป็นเสมียนความหมายของผู้เขียน
หมายถึง อาชีพที่ทำงานในบริษัท
สำนักงาน ทั้งเอกชนและของรัฐบาล
เป็นผู้ที่ได้รับเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน
๒)
ทุกอาชีพมีความสำคัญเหมือนกัน อาชีพทุกอาชีพเป็นอาชีพที่มีเกียรติยศเท่าๆ
กัน สามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้เหมือนกัน
๓)
ความนิยมเป็นเสมียน ความนิยมเป็นเสมียนเปรียบเหมือนโคลนอีกก้อนที่ติดล้อรถ
เป็นตัวถ่วงความเจริญ เพราะค่านิยมของคนที่เห็นอาชีพเสมียนเป็นอาชีพที่มีเกียรติกว่าอาชีพอื่นๆ
ในสังคม ทำให้ผู้มีความรู้ความสามารถจำนวนมากมายึดติดอยู่กับตำแหน่ง
ยศศักดิ์ ทั้งๆ
ที่ถ้าไปประกอบอาชีพอื่นจะได้ประโยชน์มากกว่า
๔) การใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่นิยมเป็นเสมียนในยุคสมัยนั้น มักมีฐานะความเป็นอยู่ที่เกินฐานะ
โดยเฉพาะการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพื่อรักษาเกียรติยศและหน้าตาของตน
๕) ความสำคัญของการเกษตร ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เป็นผู้ผลิต
มีความสำคัญอย่างยิ่งในประเทศเกษตรกรรมแบบไทย
๖) การมองข้ามความสำคัญของท้องถิ่น
ชายหนุ่มที่เข้ามาทำงานในเมืองมักลืมถิ่นฐานบ้านเกิด
ไม่ยอมกลับไปทำงานในภูมิลำเนาของตน
๗) ค่านิยมเกี่ยวกับอาชีพ คนทั่วไปมักยกย่องข้าราชการและผู้ที่ทำงานในสำนักงาน จนมองข้ามความสำคัญของอาชีพอื่น
๘) อิทธิพลของสื่อมวลชน สื่อมวลชนและสาธารณชนมีอิทธิพลอย่างมากในการเผยแพร่ความคิด โดยการยกย่องให้เกียรติชาวนาจะทำให้เกิดกระแสของคนทั่วไปตามมา
๙) ความไม่มั่นคงในอาชีพทำให้เกิดปัญหาในสังคมตามมา
ผู้ที่ต้องออกจากอาชีพที่ตนทำเมื่ออายุมากขึ้น มักถูกชักจูงให้ประพฤติทุจริตได้ง่ายเมื่อจับแนวคิดของผู้เขียนได้ดังกล่าวแล้ว
จะต้องหาเหตุประกอบการพิจารณา ได้แก่สภาพของสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่
๖
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑. การสรรคำ ในแง่ของศิลปะการประพันธ์
ทรงพระราชนิพนธ์โดยสำนวนภาษาที่เรียบง่าย แต่แฝงไว้ด้วยศิลปะการใช้ภาษา ทำให้บทความน่าอ่านและน่าติดตามดังต่อไปนี้
๑.๑ ใช้ถ้อยคำเรียบง่าย
สื่อความตรงไปตรงมา มีการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษบ้างดังตัวอย่าง
“..เด็กทุก ๆ
คนซึ่งเล่าเรียนสำเร็จออกมาจากโรงเรียนล้วนแต่มีความหวังฝังอยู่ว่าจะได้มาเป็นเสมียน
หรือเป็นเลขานุการ และจะได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งขึ้นเร็ว ๆ เป็นลำดับไป เด็กที่ออกมาจากโรงเรียนเหล่านี้ย่อมเห็นว่ากิจการอย่างอื่นไม่สมเกียรติยศนอกจากการเป็นเสมียน
ข้าพเจ้าเองได้เคยพบเห็นพวกหนุ่ม ๆ ชนิดนี้หลายคนเป็นคนฉลาดและว่องไว
และถ้าหากเขาทั้งหลายนั้นไม่มีความกระหายจะทำงานอย่างที่พวกเขาเรียกกันว่า
"งานออฟฟิศ" มากีดขวางอยู่แล้ว เขาก็อาจจะทำประโยชน์ได้มาก..”
๑.๒ การซ้ำคำ เพื่อเน้นย้ำแสดงความหนักแน่นของความ
ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตาม เช่น
“ไม่มีใครเห็น ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครรัก
ไม่มีใครอาลัย เป็นการลงเอยอย่างมืดแห่งชีวิตที่มืดไม่มีสาระ”
๑.๓ การใช้โวหาร
ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพและเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ชื่อเรื่องบทความ “โคลนติล้อ” เป็นการใช้โวหารภาพพจน์แบบอุปลักษณ์
โคลนหมายถึง ปัญหาและอุปสรรคที่กีดขวางความเจริญของประเทศชาติเหมือนโคลนที่ติดล้อรถทำให้รถเคลื่อนไปได้ไม่สะดวก
นอกจากนี้ยังมีการใช้ภาพพจน์แบบอุปมา เป็นการใช้ความเปรียบเทียบให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามและเห็นด้วย
ดังตอนที่กล่าวถึงผู้นิยมความเป็นเสมียนว่า “..ถ้าจะเปรียบพืชที่เขาได้ทำให้งอกต้องนับว่าน้อยกว่าผลที่เขาได้กินเข้าไป
..”
คุณค่าด้านสังคม
๑.
สะท้อนภาพชีวิตและค่านิยมของสังคมไทยในอดีต เมื่อผู้อ่านได้อ่านบทความแล้ว
จะมองเห็นภาพสังคมและค่านิยมของผู้คนในสมัยรัชกาลที่ ๖
ได้เป็นอย่างดี เช่น ค่านิยมที่ยกย่องคนรับราชการ ทำให้ผู้มีการศึกษาชีชีวิตอยู่ในเมืองหลวง
ไม่กลับไปประกอบอาชีพในภูมิละเนาของตน ดังตัวอย่าง
“..เขาตอบว่าเขาเป็นผู้ที่ได้รับความศึกษามาจากโรงเรียนแล้ว
ไม่ควรจะเสียเวลาไปทำงานชนิดซึ่งคนที่ไม่รู้หนังสือก็ทำได้
และเพราะเขาไม่อยากจะลืมวิชาที่เขาได้เรียนรู้มาจากโรงเรียนนั้นด้วย
เพราะเหตุนี้เขาสู้สมัคร อดอยากอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เงินเดือนเพียงเดือนละ ๑๕
บาทหรือ ๒๐ บาท
ยิ่งกว่าที่จะกลับไปประกอบการเพื่อเพิ่มพูนความสมบูรณ์แห่งประเทศในภูมิลำเนาเดิมของเขา..”
ค่านิยมผิดๆ
ของผู้ที่นิยมเป็นเสมียน ซึ่งส่งผลให้ต้องอดทนต่อความลำบาก
เพราะต้องใช้ความเป็นอยู่แบบเกินฐานะใช้จ่ายอย่างสุรุ่นสุร่าย
เพื่อรักษาเกียรติและหน้าตาของคน ดังตัวอย่าง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อีสาน ชนบท “..ในเงินเดือน ๑๕
บาทนี้พ่อเสมียนยังอุตส่าห์จำหน่ายจ่ายทรัพย์ได้ต่าง ๆ เช่นนุ่งผ้าม่วงสี
ใส่เสื้อขาว สวมหมวกสักหลาด และในเวลาที่กลับจากออฟฟิศแล้วก็ต้องสวมกางเกงแพรจีนด้วย
และจะต้องไปดูหนังอีกอาทิตย์ละ ๒ ครั้งเป็นอย่างน้อย..”
๒.
ทราบปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในอดีต บทความนี้ทำให้เราทราบว่าสมัยรัชกาลที่
๖ ปัญหาที่คอบขัดขวางถ่วงความเจริญของบ้านเมืองในขณะนั้นว่ามีอะไรบ้าง
เช่น การเชื่อถือข้อความทางหนังสือพิมพ์ที่ยังไม่ได้พิจารณาข้อเท็จจริง
ชายหนุ่มที่เข้ามาทำงานในเมืองแล้วไม่กลับไปประกอบอาชีพในภูมิลำเนาของตน
๓.
สะท้อนข้อคิดที่สามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต บทความเรื่องโคลนติดล้อ
ให้ข้อคิดแก่คนในสังคมไทยได้เป็นอย่างดีว่า ไม่ควรลืมรากฐานของตนเอง
ไม่ดูถูกอาชีพเกษตรกรรม ไม่ควรใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเกินรายและฐานะทางเศรษฐกิจของตนและที่สำคัญควรรู้จักใช้ความรู้ความสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างเต็มที่
ซึ่งข้อคิดนี้ยังไม่ล้าสมัยสามารถนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดีในปัจจุบัน
การนำข้อคิดจากบทความเรื่อง
โคลนติดล้อไปใช้ในชีวิตประจำวันจึงเป็นการเปลี่ยนโลกทัศน์และแนวคิดแบบใหม่
ซึ่งถ้าผู้อ่านเห็นด้วย คนไทยก็จะไม่ทิ้งภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทยที่เคยเป็นมา
และควรส่งเสริมให้เยาชนไทยในสมัยปัจจุบันไม่ให้ลืมถิ่นกำเนิดของตนและต้องสนับสุนนให้ผู้มีความรู้ความสามารถกลับไปช่วยพัฒนาท้องถิ่นของตน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น